บทความภาษาไทย

การห้ามประกอบกิจการแข่งขันกับนายจ้าง ตอนที่ 1

บทความกฏหมายนับตั้งแต่ประเทศไทยได้ประกาศให้มีกฎหมายความลับทางการค้า พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นต้นมา บรรดาผู้ประกอบธุรกิจได้เกิดการตื่นตัวและให้ความสำคัญกับข้อมูลทางการค้าของตน โดยการสร้างมาตรการต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อป้องกันมิให้ข้อมูลทางธุรกิจของตนรั่วไหลไปถึงคู่แข่งทางการค้า แต่ใช่ว่า ข้อมูลทางการค้าของผู้ประกอบธุรกิจจะถือเป็นความลับทางการค้าตามกฎหมายเสมอไป ดังนั้น ความลับทางการค้าคืออะไร มีความหมายเป็นอย่างไรนั้น เราจะต้องไปพิจารณาจากคำนิยามทางกฎหมายก่อน ดังนี้ ความลับทางการค้า หมายความว่า...

การปรับโครงสร้างองค์กร (Reorganization)

บทความกฏหมายจากการที่มีข่าวกระฉ่อนโซเชียลว่า ซุปเปอร์มาเก็ตชื่อดังประกาศปรับปรุงโครงสร้างองค์กร โดยจำต้องเลิกจ้างลูกจ้างเป็นจำนวนกว่า ๔๐-๕๐ เปอร์เซ็นต์ ด้วยวิธีการจ้างออก กล่าวคือให้ลูกจ้างลงนามในใบลาออกและจ่ายค่าชดเชยตามอัตราที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดนั้น เรื่องที่ผู้เขียนอยากจะกล่าวถึงกรณีการปรับโครงสร้างองค์กรนั้นใช่ว่านายจ้างอยู่ในสภาวะการขาดทุนเสมอไป บางสถานประกอบการเป็นการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้นายจ้างมีกำไรมากขึ้นก็เป็นไปได้ อย่างเช่นกรณีของซุปเปอร์มาเก็ตชื่อดัง...

การข่มเหงรังแกในการทำงาน ภาคปฏิบัติ (Power Harassment)

บทความกฏหมายผู้เขียนได้เขียนบทความเกี่ยวกับการข่มเหงรังแกในการทำงาน (Power Harassment) https://goo.gl/s8JbCt  ปรากฏว่า ได้มีท่านผู้อ่านให้ความสนใจเขียนอีเมล์เข้ามาสอบถามผู้เขียนอย่างมากมาย ซึ่งจากคำถามของท่านผู้อ่านทำให้ผู้เขียนพบว่า สังคมการทำงานในประเทศไทยยังเต็มไปด้วยการใช้อำนาจข่มเหงกลั่นแกล้งลูกน้องสารพัด  แม้ว่า ปัจจุบัน ประเทศเราได้มีการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา ๓๙๗ ให้คลอบคลุมถึงกรณีการข่มเหงรังแกนี้ แต่ก็ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติ เพราะเมื่อลูกจ้างเข้าไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน...

ค่าชดเชยเจ้าหนี้ห้ามอายัด

บทความภาษาไทยทราบกันหรือไม่ว่า เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐ ที่ผ่านมา มีการแก้ไขกฎหมายเรื่องจำนวนเงินรายได้ของลูกจ้างจากหนึ่งหมื่นบาทเป็นสองหมื่นบาท เป็นจำนวนเงินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว กฎหมายได้เพิ่มเรื่องค่าชดเชยในจำนวนเงินไม่เกินสามแสนบาทเป็นเงินที่ได้รับความคุ้มครองให้ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีอีกด้วยเช่นกัน                            สำหรับความหมายของคำว่า “ทรัพย์สินไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคดี”...

ผู้เช่าอาคารรายบุคคลเฮ สคบ เข้าควบคุมธุรกิจให้เช่าเพื่อพักอาศัย

บทความภาษาไทยในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ นี้ จะเป็นวันที่มีผลบังคับใช้ของประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องธุรกิจให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจเพื่อควบคุมสัญญา ประกาศฉบันนี้ถือเป็นกฎหมายครับ เพราะออกตามมาตรา ๓๕ ทวิแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒                         กฎหมายฉบับนี้จะเข้าไปควบคุมบรรดาเจ้าของอาคารไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือ     นิติบุคคลที่นำสถานที่เช่าแบ่งให้เช่ารวมแล้วตั้งแต่ ๕ หน่วยขึ้นไป ไม่ว่าจะอยู่ในอาคารเดียวหรือหลายอาคารรวมกัน...

ถ้านายจ้างขาดทุนแล้ว สามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้อย่างเป็นธรรมจริงหรือ ?

บทความภาษาไทยในการดำเนินธุรกิจปกติของผู้ประกอบการ (นายจ้าง) ซึ่งจะต้องมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้นั้น ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไม่ดีแล้วส่งผลกระทบต่อธุรกิจของนายจ้างในทางลบ หากผลกระทบนั้นส่งผลให้นายจ้างประสบกับภาวะขาดทุนแล้ว นายจ้างเองก็อาจจำต้องปรับตัวเองให้อยู่รอดต่อไปให้ได้ ซึ่งมาตรการปรับโครงสร้างกิจก็เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายประจำของนายจ้าง ทำให้กิจการของนายจ้างสามารถดำเนินต่อไปได้ มาตรการการเลิกจ้างจึงต้องถูกหยิบมาใช้กับลูกจ้าง นายจ้างส่วนใหญ่เชื่อว่า...

ใช้พักร้อนไม่หมด…..นายจ้างต้องจ่ายเป็นเงินแทน

บทความภาษาไทยวันลาพักร้อน เป็นคำที่เราเรียกกันอย่างติดปาก แต่ในทางกฎหมายแรงงานที่จริงแล้วคือ วันหยุดพักผ่อนประจำปี ซึ่งวันหยุดและวันลามีความหมายในทางกฎหมายที่แตกต่างกัน โดยวันหยุดนั้นจะเป็นวันที่ถูกกำหนดขึ้นให้ลูกจ้างหยุด แต่วันลานั้นเป็นเรื่องสิทธิของลูกจ้างที่ใช้เพื่อลา และเมื่อพิจารณาจากกรณีวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ บัญญัติว่า “ ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่าหกวันทำงาน...

นายจ้างฝ่าฝืนกฎหมายคุ้มครองแรงงาน…………..จ่ายเงินเพิ่มแสนแพงและติดคุกได้

บทความภาษาไทยกฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเป็นกฎหมายที่นายจ้างอาจมีความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา ซึ่งมีโทษทั้งจำทั้งปรับ ในความรับผิดทางแพ่ง กรณีนายจ้างผิดนัดจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และ ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ นายจ้างจะต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี และหากนายจ้างจงใจเบี้ยวจ่าย นายจ้างจะต้องเสียเงินเพิ่มให้กับลูกจ้างในอัตราร้อยละ ๑๕ ของเงินค่าจ้างค้างจ่ายทุกระยะเวลา ๗ วัน หรือเท่ากับอัตราร้อยละ ๗๒๐...

ข่มเหงรังแกลูกน้อง…..ติดคุกได้

บทความภาษาไทยการข่มเหงรังแกในการทำงาน (Power Harassment) หมายถึง การกลั่นแกล้ง การทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนรำคาญใจ ไม่สบายใจ โดยใช้อำนาจหรือตำแหน่งหน้าที่ในการงานเป็นเครื่องมือ มีผลให้ผู้ถูกกระทำทำงานด้วยความลำบากกาย ลำบากใจ ถูกมองด้วยสายตาไม่ดีจากผู้ร่วมงานคนอื่น  ตัวอย่างเช่น - การที่หัวหน้ามอบหมายงานที่ไม่สามารถทำได้ให้ลูกน้อง หรือให้ทำงานนอกขอบเขตรายละเอียดของาน (Job Description) เพื่อกลั่นแกล้งให้ลูกน้องทำงานผิดพลาด -...

เรื่องที่คุณยังไม่รู้เกี่ยวกับการเกษียณอายุ

บทความภาษาไทยผู้เขียนได้รับอีเมล์จากท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านได้สอบถามถึงการเกษียณอายุ ทำให้ผู้เขียนเข้าใจว่า ยังมีท่านผู้อ่านอีกจำนวนมากที่ยังขาดความเข้าใจเรื่องการเกษียณอายุ ผู้เขียนจึงถือโอกาสนี้รวบรวมกรณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเกษียณอายุมาแจกแจงให้ท่านผู้อ่านทราบตามบทความเรื่องนี้ การที่ลูกจ้าง (เอกชน) คนใดคนหนึ่งต้องออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุ ผู้เขียนฟันธงได้เลยว่า ถือเป็นกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างจากนายจ้าง...